Home > Value investment > Bargain Hunter

Bargain Hunter

นักลงทุนที่เรียกตัวเองว่าเป็น VI ในบ้านเราส่วนใหญ่ไม่ได้ลงทุนในกิจการยอดเยี่ยมที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนและมีผู้บริหารที่มีธรรมาภิบาลอย่างปรมาจารย์ VI อย่างวอเรนต์ บัฟเฟต์ เขาเหล่านั้นมักจะลงทุนในกิจการที่อาจจะไม่ได้มีคุณภาพดีมาก แต่เขามองเห็นแล้วว่า ราคาที่ซื้อขายกันในกระดานต่ำกว่ามูลค่าแท้จริงที่มันควรจะเป็น และเมื่อราคาในกระดานสะท้อนตามมูลค่าที่พวกเขาคิดว่าจะเป็นแล้ว เขาก็จะขายหุ้นตัวนั้น แล้วก็มองหาหุ้นตัวใหม่ที่มีลักษณะแบบนี้อีก

เหตุผลที่พวกเขาไม่ได้ลงทุนตามอย่างปรมาจารย์บัฟเฟต์ ก็มักจะเป็นเพราะเขาเหล่านั้นมักคิดว่าคุณภาพของกิจการในตลาดบ้านเราไม่ได้ยอดเยี่ยม มีแบรนด์ที่แข็งแรง มี competitive advantage เยอะๆ ดังตลาดอเมริกา การจะหากิจการยอดเยี่ยมขนาดนี้ที่จะถือไว้”ตลอดกาล”แบบบัฟเฟต์ อาจจะเป็นเรื่องทื่ทำได้ยาก และลึกๆแล้ว พวกเขาก็มักจะคิดว่า สเถียรถาพของตลาดทุนบ้านเรานั้นต่ำ อ่อนไหวได้ง่ายกับทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การถือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งยาวๆบางครั้งก็อาจจะเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยง

ที่สำคัญอีกประการคือพวกเขามักจะคิดว่า การสวิชหุ้นเปลี่ยนตัวเล่นไปเรื่อยๆ จะทำให้พอร์ตของพวกเขาโตได้เร็วกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่พอร์ตของเขายังไม่ใหญ่โตมาก สามารถซื้อขายหุ้นแต่ละตัวได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาสภาพคล่อง

ลักษณะการลงทุนของ VI บ้านเรานี้ ผมมีความเห็นว่าคำศัพท์คำนึง สามารถอธิบายลักษณะการคิดและการลงทุนของพวกเขาได้ดี นั่นก็คือคำว่า bargain hunter

พวกเขาเหล่านี้จะมีธรรมชาติของการเป็นนักล่า”ส่วนลด” เมื่อใดก็ตามที่เขาเห็นส่วนลดของ”ราคา”จาก”มูลต่า” เขาก็พร้อมจะจู่โจมเข้าล่า และจากไปเมื่อ”ส่วนลด”หมดไป

แล้วพวกเขาตามหาส่วนลดเหล่านี้ได้อย่างไร? คำตอบคือเขาทำการบ้านในแง่”พื้นฐาน”อย่างหนัก ทั้งการอ่านรายงาน 56-1 ฟัง opportunity day โทรสอบถามข้อมูลจาก IR ไป company visit อ่านบทวิเคราะห์ ทดลองใช้สินค้าและบริการของบริษัท etc. จนกระทั่งเขาค้นพบความดีความงามของบริษัทที่ตลาดยังไม่ทัน recognize และยังไม่ทันจะ price in เช่น อาจจะค้นพบว่าบริษัทมี backlog ก้อนใหญ่ในมือ ที่จะทำให้กำไรปีนี้สูงสุดเป็นประวัติกาล, อาจจะเจอว่าบริษัทมีศักยภาพในการเติบโตสูง และน่าจะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 20% ต่อปีไปอีกอย่างน้อย 2-3 ปี, อาจจะพบว่าบริษัทมีกำลังการผลิตใหม่ ที่จะทำให้กำไรของบริษัทกำลังจะโตก้าวกระโดดในอีกหนึ่งปีข้างหน้า หรืออาจจะพบว่าบริษัทเปลี่ยน business model ไปแล้ว ทำให้รายได้และกำไรมีสเถียรภาพมากกว่าเดิม ขัดกับภาพในอดีตที่คนทั่วไปคิดว่างบการเงินของบริษัทลุ่มๆดอนๆ กำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง เป็นต้น

บางคนอาจจะมีคำถามขค้นมาว่าการลงทุนแบบ bargain hunting นี้ เป็นการลงทุนแบบ VI หรือไม่ คำตอบสำหรับผมก็คือ ขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามคำว่า VI ไว้อย่างไร ถ้านิยามว่า VI เท่ากับ undervalue แน่นอนว่า bargain hunting ย่อมเป็นแขนงหนึ่งของ value investment

อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญ ไม่ได้อยู่ที่นิยามและชื่อเรียก ที่ผมจะสื่อก็คือว่า คนที่ถูกเรียกว่าเป็น VI ในบ้านเราเป็น bargain hunter กันเสียเกือบหมด ดังนั้นเวลาที่พวกเขา ( รวมถึงผมเอง ) ซื้อหุ้นหรือเชียร์หุ้นตัวไหน นั่นแปลว่าเขากำลังล่าส่วนต่างระหว่างราคากับมูลค่า ถ้าเราซื้อเป็นไม้ถัดไป ส่วนต่างย่อมน้อยลง และถ้าเราเป็นไม้ท้ายๆ นั่นอาจจะเป็นจุดที่ไม่เหลือส่วนต่างแล้วก็ได้ และนั่นก็จะเป็นจุดที่ bargain hunter เทขาย ก่อนที่พวกเขาจะไปล่า”ส่วนลด”ตัวต่อไป

  1. otakung
    September 8, 2011 at 8:29 am

    ส่วนตัวผมคิดว่า VI น่าจะสื่อถึงพื้นฐานแนวคิดและเหตุผลในการซื้อขายหุ้นครับผม จะเป็น bargain hunter หรือว่าลงทุนในกิจการที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนหรือหรือใช้หลักการอื่น ๆ อะไรก็ตาม ถ้าใช้เหตุผลซื้อขายในแง่ของการมองพื้นฐานของกิจการผมคิดว่าคน ๆ นั้นก็น่าจะถูกเรียกว่า VI ได้ครับ (แต่ก็ไม่ใช่ประเด็นสำคัญอยู่ดีอย่างที่คุณ Reiter บอก :P)

    • September 9, 2011 at 12:04 am

      บางทีผมก็ไม่ค่อยแน่ใจว่านิยามของ VI คืออะไรกันแน่ บางครั้งบางคราวผมเลยใช้คำว่า fundamentalist แทน

      แต่ก็อย่างที่ว่านะครับ มันเป็นแค่ชื่อ ไม่ได้มีความสำคัญอะไรเท่ากับว่าวิธีการที่เราใช้ มันเหมาะสมกับเรา และสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่

  2. navapon
    September 8, 2011 at 1:24 pm

    มาลงชื่อครับว่าอ่านแล้ว ขอบคุณสำหรับแนวคิดครับคุณหมอ

  3. slb007
    September 27, 2011 at 9:45 am

    ติดตามอ่านบทความคุณหมอและได้ความรู้เสมอเลยครับ 🙂

  4. mod
    October 6, 2011 at 1:39 am

    ผมก็รู้สึกมึนกับนิยามของแต่ละคนเหมือนกันครับ พูด 10 คนก็ 10 แบบ แตกต่างกันไปคนละจุดสองจุด บางทีเห็นคนส่วนใหญ่ชอบเอาชื่อสไตล์นั้นๆนี้ๆมาแขวนคอแล้วก็ทะเลาะกัน เห็นแล้วเบื่อ 55

    ผมว่าชื่อคงไม่สำคัญกับวิธีการที่เข้ากับตัวเราเช่นกันครับ 😀

  5. auiyoo
    November 10, 2011 at 4:46 am

    คุณหมอครับ .. เพิ่งจะได้มาอ่าน Blog ของคุณหมอ ขอบคุณมากๆเลยครับ 🙂

    ผมมีคำถาม อยากจะถามคุณหมอหน่อยครับ

    1. สำหรับมือใหม่ การจะประเมินให้ได้ว่า ราคาหุ้นตอนนี้ undervalued หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องง่าย .. เกิดถ้าเราประเมินผิด ตามหลักการคุณหมอจะแนะนำให้ cut loss หรือไม่อย่างไร (มุมมอง investor ไม่ใช่ trader)

    2. ถ้าตอนนี้เจ็บหนักอยู่ (เนื่องจากไม่ได้ cut loss) คุณหมอมีแนวทางแนะนำอย่างไร ในการ hold / buy / sell บ้างครับ

    3. การประเมิน PE Forward ว่าจะเป็นเท่าไหร่ของหุ้นเรา เช่น 11, 12 เนี่ย ไม่ทราบว่าหลักการเป็นอย่างไรครับ .. เช่น สมมุติ PE ของกลุ่มปัจจุบันเป็น 10 .. ตัวที่เราถืออยุ่เป็นหุ้นดี ผลประกอบการคาดว่าดี เป็นผู้นำกลุ่ม ดังนั้นเราต้องปรับ PE เป็น 12 ซึ่งมากกว่ากลุ่ม เป็นต้น

    ขอบคุณครับ

    • November 14, 2011 at 3:35 am

      1. สมัยผมเป็นมือใหม่มากๆ ผมก็ไม่คัตลอสครับ แต่เลือกที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดในการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของเรา

      2 แนะนำให้อ่านบทความก่อนครับ ( ถ้าจะเกิดวิกฤติ )

      3 แนะนำให้อ่านบทความก่อนครับ ( ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับ PE ratio )

  1. No trackbacks yet.

Leave a comment